เมนู

[อธิบายมาติกาในบทภาชนีย์]


ท่านพระอุบาลีเถระ ครั้นจำแนกสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
อุเทศไว้แล้วตามลำดับบทอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะตั้งมาติกาแสดงมนุสสวิคคห-
ปาราชิกโดยพิสดารไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สามํ อธิฏฺฐาย ดังนี้อีก เพื่อให้
ภิกษุทั้งหลายถือเอานัยโดยอาการทุกอย่าง และเพื่อป้องกันโอกาสของปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต เพราะเหตุว่า มนุสสวิคคหปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงในบทภาชนีย์ในหนหลัง โดยสังเขปเท่านั้น ไม่ได้ทรงยกอาบัติขึ้น
ปรับแล้ววางแบบแผนไว้โดยพิสดาร และภิกษุทั้งหลาย ไม่สามารถจะถือเอา
นัยไว้โดยอาการทั้งปวง ในเนื้อความที่ทรงแสดงไว้โดยสังเขป ทั้งแม้ปาปบุคคล
ทั้งหลายในอนาคต ก็มีโอกาส จึงกล่าวคำว่า สามนฺติ สยํ หนติ ดังนี้
เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น มีถ้อยคำสำหรับวินิจฉัยพร้อมด้วยการพรรณนาบทที
ยังไม่ง่าย ดังต่อไปนี้:-
บทว่า กาเยน ความว่า ด้วยมือ เท้า กำมือ หรือเข่า หรือด้วยอวัยวะ
น้อยใหญ่ อย่างใดอย่างหนึ่ง.
บทว่า กายปฏิพทฺเธน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีดาบเป็นต้น
ที่ไม่พ้นจากกาย.
บทว่า นิสฺสคฺคิเยน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีลูกศรและหอก
เป็นต้น ที่พ้นจากกาย หรือจากของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยลำดับแห่งคำเพียง
เท่านี้ ประโยคทั้ง 2 คือ สาหัตถิกประโยคและนิสสัคคิยประโยคเป็นอันท่าน
กล่าวแล้ว. ในประโยคทั้ง 2 นั้น แต่ละประโยคมี 2 อย่าง โดยจำแนกเป็น
ประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง.

บรรดาประโยคเจาะจงและไม่เจาะจงนั้น พึงทราบวินิจฉัยในประโยค
เจาะจง ดังต่อไปนี้:- ภิกษุประหารเจาะจงผู้ใด ด้วยการตายของผู้นั้นนั่นแล
ภิกษุนั้นย่อมถูกกรรมผูกพัน. ในประโยกที่ไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง จง
ตาย ดังนี้ ด้วยการตายของผู้ใดผู้หนึ่ง เพราะการประหารเป็นปัจจัย ภิกษุ
ย่อมถูกกรรมผูกพัน. ทั้ง 2 ประโยคผู้ถูกประหารจะตายในขณะพอถูกประหาร
หรือจะตายในภายหลังด้วยโรคนั้นก็ตามที ภิกษุย่อมถูกกรรมผูกพันในขณะที่ผู้
ตายถูกประหารนั่นเอง. แต่เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความประสงค์เพื่อการตาย
เมื่อผู้ถูกประหารไม่ตายด้วยการประหารนั้น จึงให้การประหารด้วยจิตดวงอื่น
ต่อไป ถ้าผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารครั้งแรก แม้ในภายหลัง ภิกษุถูก
กรรมผูกพันในเวลาประหารครั้งแรกเท่านั้น ถ้าตายด้วยการประหารครั้งที่ 2
ไม่มีปาณาติบาต. แม้เมื่อผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารทั้ง 2 ครั้ง ภิกษุก็
ถูกกรรมผูกพันแท้ ด้วยการประหารครั้งแรกนั่นเอง. เมื่อไม่ตายด้วยการ
ประหารทั้ง 2 คราวก็ไม่มีปาณาติเหมือนกัน. ในการที่คนแม้มากให้
การประหารแก่บุคคลผู้เดียว ก็นัยนี้ ถึงในการที่คนมากคนให้การประหารแม้
นั้น ผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารของผู้ใด กรรมพันธ์ ย่อมมีแก่ผู้นั้นเท่า
นั้น ฉะนี้แล.

[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นเป็นอนันตริยกรรมและปาราชิก]


อนึ่ง ในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้ เพื่อความฉลาดในกรรมและอาบัติ
พึงทราบแม้หมวด 4 ว่าด้วยเรื่องแพะ. จริงอยู่ ภิกษุรูปใด สำรวจดูแพะซึ่ง
นอนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยคิดในใจว่า เราจักมาฆ่าในเวลากลางคืน. และ
มารดาหรือบิดาของภิกษุนั้นหรือพระอรหันต์ห่มผ้ากาสาวะสีเหลือง แล้ว นอน
อยู่ในโอกาสที่แพะนอน. เธอเวลากลางคืน ทำในในว่า เราจะฆ่าแพะให้